Alter Ego และ Myth Avenue Gaming คว้าแชมป์ APAC Predator League 2025
Alter Ego และ Myth Avenue Gaming คว้าแชมป์ APAC Predator League 2025 พร้อมเงินรางวัล 65,000 ดอลลาร์สหรัฐ อินเดียรับไม้ต่อพร้อมเป็นเจ้าภาพในครั้งต่อไป
สำนักงาน กสทช. จัดงานสัมมนาวิชาการ กสทช. ประจำปี 2567 ภายใต้แนวคิด Sprinting into the Digital Future โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอทิศทางการพัฒนาและการกำกับดูแลกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคม และกิจการดาวเทียมสื่อสารให้สอดรับกับกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีดิจิทัลที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว พร้อมส่งเสริมให้ทุกคนในสังคมสามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างเท่าเทียม โดยในปีนี้ได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์คลินิก นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธาน กสทช. กล่าวเปิดงานสัมมนา โดยมี นายนทชาติ จินตกานท์ ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาการ กล่าวรายงาน และเล่าถึงพัฒนาการของวารสาร และการเปลี่ยนชื่อเป็นวารสารกิจการสื่อสารดิจิทัล ซึ่งมีผู้เข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก จากหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา
สำหรับวิทยากรในปีนี้ได้รับเกียรติจากนายต่อพงศ์ เสลานนท์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ดร.อนันต์ลดา โชติมงคล นักวิจัยประจำทีมวิจัยเทคโนโลยีที่ทุกคนเข้าถึงและสิ่งอำนวยความสะดวก กลุ่มนวัตกรรมแพลตฟอร์มดิจิทัลสุขภาพการแพทย์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และดร.นน อัครประเสริฐกุล ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส ฝ่ายส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ร่วมเสวนา
กสทช. ต่อพงศ์ เสลานนท์ กสทช. กล่าวในหัวข้อ ตัวแบบ 10 นิ้ว เพื่อการออกแบบสำหรับทุกคน: สู่สังคมที่ครอบคลุมทุกคน (10 Fingers Model for Inclusive Design: Towards Accessible Communities for All) ว่า ในยุคที่สังคมมีความหลากหลายและกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การออกแบบสำหรับทุกคน (Inclusive Design) ได้กลายเป็นแนวคิดสำคัญในการพัฒนาสังคมที่เท่าเทียมและเข้าถึงได้ โดยโมเดล 10 นิ้ว นำเสนอกรอบแนวคิดที่ครอบคลุมผ่านการใช้นิ้วมือทั้งสิบเป็นสัญลักษณ์แทนองค์ประกอบสำคัญในการออกแบบ โมเดลนี้แบ่งการออกแบบเป็นสองส่วนหลัก ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางกายภาพ ประกอบด้วยการออกแบบเมือง ภูมิทัศน์ สถาปัตยกรรม การออกแบบภายในและผลิตภัณฑ์ และส่วนเทคโนโลยีและมนุษย์ ซึ่งครอบคลมด้านบุคลากร ทักษะ อุปกรณ์อัจฉริยะ แอปพลิเคชั่นและการเชื่อมต่อ ผลการศึกษาพบว่า การออกแบบตามแนวคิดมีส่งผลกระทบเชิงบวกต่อคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ การมีส่วนร่วมในสังคม นวัตกรรม และการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและผู้พิการ อีกทั้งยังสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ผ่านการขยายฐานผู้ใช้งานที่หลากหลาย
สำหรับประเทศไทย แม้จะมีความท้าทายในการนำแนวคิดนี้มาปฏิบัติ แต่มีข้อเสนอแนะที่สำคัญในการพัฒนา อาทิ การสร้างความตระหนักรู้ การปรับปรงนโยบายและกฎหมาย การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา ตลอดจนการสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน การนำโมเดล 10 นิ้วมาประยุกต์ใช้จะเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาสังคมไทยสู่การเป็นสังคมที่ครอบคลุมและเข้าถึงได้สำหรับประชาชนทุกกลุ่ม ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและการเตรียมความพร้อมสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์
ดร.อนันต์ลดา โชติมงคล นักวิจัยประจำทีมวิจัยเทคโนโลยีที่ทุกคนเข้าถึงและสิ่งอำนวยความสะดวก กลุ่มนวัตกรรมแพลตฟอร์มดิจิทัลสุขภาพการแพทย์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กล่าวในหัวข้อ เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเข้าถึงสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับคนทุกกลุ่ม (Digital Technology for Accessible Information and Communications) ว่า ในยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวัน ได้มีการพัฒนาแพลตตฟอร์มนวัตกรรมสำคัญเพื่อลดช่องว่างทางดิจิทัลและสร้างโอกาสการเข้าถึงเทคโนโลยีอย่างเท่าเทียม โดยพัฒนาระบบริการดิจิทัลที่ครอบคลุมความต้องการของผู้ใช้ทุกกลุ่ม โดยเฉพาะผู้พิการและผู้สูงอายุ ซึ่งประกอบด้วยระบบสำคัญ 4 ด้าน ระบบแรก คือ บริการถ่ายทอดการสื่อสาร (Telecommunication Relay Service) ที่ช่วยให้ผู้พิการทางการได้ยินและการพูดสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยติดตั้งตั้งตู้ TTRS จำนวน 180 ตู้ ในที่สาธารณะทั่วประเทศ สร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมมูลค่ากว่า 2,000 ล้านบาท
ระบบที่สอง คือ บริการคำบรรยายแทนเสียงแบบเรียลไทม์ ที่ช่วยให้ผู้พิการทางการได้ยินและผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงข้อมูลในการประชุมและรายการโทรทัศน์ได้อย่างทั่วถึง ระบบที่สาม คือ แพลตฟอร์มสื่ออ่านง่าย ที่ช่วยให้ผู้มีความบกพร่องทางการรับรู้และผู้สูงอายุสามารถเข้าใจข้อมูลข่าวสารได้ง่ายขึ้น และระบสุดท้าย คือ ระบบเฝ้าระวังและตรวจสอบการเข้าถึงบริการดิจิทัล ที่ช่วยให้การพัฒนาบริการดิจิทัลต่าง ๆ เป็นไปตามมาตรฐานการเข้าถึงสำหรับคนพิการ นวัตกรรมเหล่านี้ไม่เพียงช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ใช้งาน แต่ยังสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมและเศรษฐกิจของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ การพัฒนาเทคโนโลยีเหล่านี้ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการสร้างสังคมดิจิทัลที่เท่าเทียมและไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
ดร.นน อัครประเสริฐกุล ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส ฝ่ายส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กล่าวในหัวข้อ การสร้างเมืองอัจฉริยะแห่งอนาคตสำหรับทุกคน (Building Smarter Cities: The Blueprint for Inclusive Urban Futures) ว่า เมื่อกล่าวถึง “เมืองอัจฉริยะ” หรือ “สมาร์ตซิตี้” หลายคนมักจะนึกถึงเทคโนโลยีล้ำสมัย เช่น AI, IoT หรือ 5G หากคำถามที่สำคัญที่สุดที่มักจะมองข้าม คือ เทคโนโลยีเหล่านี้ตอบโจทย์ใคร หากเป้าหมายของเมืองอัจฉริยะ คือการทำให้ชีวิตของประชาชนดีขึ้นด้วยการใช้เทคโนโลยี เหตุใดหลากหลายโครงการที่มีเทคโลยีล้ำหน้าถึงยังล้มเหลว เกิดเป็นโครงการที่ใช้ทรัพยากรมหาศาลสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกที่ไม่มีใครใช้งาน หรือสร้างภาระทางการเงินโดยไม่เกิดผลกระทบเชิงบวกต่อชีวิตประชาชน และทำให้ประชาชนรู้สึกถูกละลาบละล้วงข้อมูลส่วนบุคคล
ที่ผ่านมาการพัฒนาเมืองอัจฉริยะขาดการออกแบบที่ใช้ความต้องการของประชาชนเป็นศูนย์กลาง หลายโครงการเน้นการใช้เทคโนโลยีมากกว่าการตอบสนองความต้องการที่แท้จริง ทำให้เกิดการตัดสินใจจากบนลงล่าง(Top-Down) โดยปราศจากข้อมูลที่ถูกต้องและการมีส่วนร่วมของประชาชน
การสร้างเมืองอัจฉริยะไม่ควรเริ่มจากการทุ่มงบประมาณไปกับโครงการใหญ่ แต่ควรเริ่มจากพื้นที่ทดลองเล็ก ๆ เพื่อทดสอบและปรับปรุงตามความต้องการของคนในชุมชุมชน แนวทางนี้แสดงให้เห็นว่าเมืองอัจฉริยะไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นด้วยเทคโนโลยีล้ำยุคที่สุด แต่ต้องเริ่มจากการฟังและการออกแบบที่ตอบโจทย์ชีวิตประจำวันของประชาชน ในการบรรยายครั้งนี้จะได้พูดคุยถึงกรณีศึกษาในการพัฒนาเมืองที่ได้ผล รวมถึงรูปแบบของการวางแนวทางในการได้มา ซึ่งพิมพ์เขียวสำหรับวิธีการที่จะสามารถสร้างพื้นที่อยู่อาศัยที่เป็นเมืองที่น่าอยู่และชาญฉลาดได้
Alter Ego และ Myth Avenue Gaming คว้าแชมป์ APAC Predator League 2025 พร้อมเงินรางวัล 65,000 ดอลลาร์สหรัฐ อินเดียรับไม้ต่อพร้อมเป็นเจ้าภาพในครั้งต่อไป
Solis Global (Ginlong Technologies) ผู้นำด้านเทคโนโลยีพลังงานสะอาดระดับโลก ก้าวล้ำอีกขั้นด้วยการเปิดตัว Solis Solarator Series ซึ่งเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์อินเวอร์เตอร์จัดเก็บพลังงานที่ออกแบบมาเพื่อรองรับการใช้งานหลากหลาย และพร้อมวางจำหน่ายในประเทศไทยแล้ว! ผลิตภัณฑ์ซีรีส์นี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการโซลูชันพลังงานที่ยั่งยืน ทันสมัย และสามารถใช้งานได้แม้ในพื้นที่ที่มีปัญหาเรื่องความเสถียรของระบบไฟฟ้า
Metro Systems Corporation Public Company Limited (MSC), a leader in integrated information technology business, won 3 awards
จากงาน Palo Alto Networks "Partner Kick Off 2025" ในธีมสุดล้ำ AI Carnival จัดโดย Palo Alto Networks ผู้ให้บริการด้าน Cyber Security ระดับโลก
เอเซอร์-อินเทล ส่งทีม Dota 2 และ Valorant จากไทย ลุยศึก Asia Pacific Predator League รอบชิงที่มาเลเซีย! พร้อมท้าชนคู่แข่งทั่วเอเชียแปซิฟิก สู่ความเป็นหนึ่ง!
AWS ต้อนรับคณะผู้บริหารหลักสูตรดิจิทัลจั๊มสตาร์ท รุ่นที่2 ศึกษาดูงาน