ยูบีเอส ส่งเสริมนโยบายการเรียนรู้ ผนึกมูลนิธิ EDF จัดอบรมความปลอดภัยในโรงเรียน
ยูบีเอสตระหนักถึงความปลอดภัยในโรงเรียน จับมือมูลนิธิ EDF ให้ความรู้แก่นักเรียนจาก 3 โรงเรียน ในจังหวัดสระบุรี โดยมีครู ผู้ปกครอง และชุมชน เข้าร่วมด้วย
สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) หรือ OKMD ร่วมกับกองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน (CMDF) และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดกิจกรรมค่ายบ่มเพาะเชิงลึก (Bootcamp) และการประกวดการประยุกต์ใช้ความรู้ด้านการเงินการลงทุน (Capital Market Hackathon) ภายใต้โครงการคาราวานความรู้ตลาดทุนรุกสู่ภูมิภาค และบ่มเพาะต้นแบบคนรุ่นใหม่เข้าสู่ตลาดทุน
โดยได้กระจายความรู้เชิงรุกสู่ทุกภูมิภาคของไทย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการเงินและการลงทุน สร้างภูมิคุ้มกันทางการเงินอย่างรอบด้านให้กับเยาวชน มีการจัดกิจกรรมตลาดนัดความรู้ในพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ขอนแก่น นครราชสีมา จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ภูเก็ต และยะลา ตั้งแต่เดือน ก.ค.-ส.ค.67 มีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการมากกว่า 10,117 คน ซึ่งได้รับความร่วมมือจากสถาบันการเงิน ภาคการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน กว่า 70 หน่วยงาน มาร่วมสร้างองค์ความรู้ ให้คนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้การสร้างรายได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
นอกจากนี้ยังได้จัดทำสื่อการเรียนรู้ประเภทบอร์ดเกมชื่อ “The Fin Warrior : ยุทธการขยับเงิน” สนับสนุนให้สถานศึกษา แหล่งเรียนรู้ ห้องสมุด และหน่วยงานด้านการเรียนรู้ทั่วประเทศกว่า 652 แห่ง ให้การอบรมการเล่นบอร์ดเกมกับครู อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ทั่วประเทศ ในรูปแบบ Onsite และ Online และได้ต่อยอดไปสู่กิจกรรมค่ายบ่มเพาะเชิงลึก หรือ FinLab Bootcamp ห้องเรียนการเงินออนไลน์ ที่มีเยาวชนเข้าร่วมกว่า 500 ราย โดยต้องการเน้นปลูกฝังความรู้ทางการเงินควบคู่จิตสำนึกในการปั้นโมเดลธุรกิจ เพื่อปกป้องและแก้ไขปัญหาการเงินในสังคม พร้อมเสริมสร้างทักษะการเงินการลงทุนให้รอบด้านครบทุกมิติ ภายใต้แนวคิด “หา-ใช้-ออม-ลงทุน-ปกป้อง” ผ่านการเรียนรู้ใน 7 รายวิชาการเงิน และการต่อยอดโมเดลธุรกิจเพื่อสังคม และยังได้มีโอกาสฝึกต่อยอดไอเดียการเงิน สู่โปรเจคต์โมเดลธุรกิจ และพัฒนาภายใต้คำแนะนำจากทีมวิทยากร และเมนเทอร์จาก ม.ธรรมศาสตร์ ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการเงินและการลงทุน โดยมีคุณภูมิศาสตร์ รุจีรไพบูลย์ อาจารย์พิเศษจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็น Course Director ประจำโครงการฯ
ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารและพัฒนาความรู้ (OKMD) กล่าวว่า “เรามุ่งมั่นที่จะสร้างพื้นที่การเรียนรู้ จุดประกายไอเดียด้านการเงินและการลงทุน พร้อมมอบแนวคิดที่จะสร้างสมดุลทางการเงิน ให้เยาวชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเงินการลงทุน และผลกระทบต่อภาคสังคมและเศรษฐกิจในอนาคต จึงได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยธรรมศาสตร์เป็นผู้ออกแบบกระบวนการ และพัฒนาทักษะผ่านกิจกรรม Boot Camp รวมถึงการนำความรู้มาประยุกต์ต่อยอดสร้างโมเดลธุรกิจ แก้ไขปัญหาทางการเงินและการลงทุนในสังคม”
ด้าน นายจักรชัย บุญยะวัตร ผู้จัดการกองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน (CMDF) กล่าวเสริมว่าในยุคที่ประเทศไทยกำลังเผชิญปัญหาหนี้ครัวเรือนสูง หากเยาวชนขาดความรู้พื้นฐานด้านการเงิน อาจส่งผลให้มีพฤติกรรมการใช้จ่ายเกินตัว จนเกิดเป็นหนี้สินโดยไม่จำเป็น และขาดความรู้ในการเก็บออม การลงทุน
“ในฐานะที่ CMDF มีพันธกิจในการพัฒนาตลาดทุนไทย เสริมสร้างความรู้ด้านการลงทุนให้กับประชาชนและองค์กรที่เกี่ยวข้องทางการเงิน จึงได้จับมือกับภาคีเครือข่ายในการจัดกิจกรรมค่ายบ่มเพาะเชิงลึก (Bootcamp) เพื่อส่งเสริมความรู้ทางการเงินให้คนไทยตั้งแต่เยาวชน สู่การสร้างอนาคตที่มั่นคงและปลอดภัยทางเศรษฐกิจ”
สำหรับผู้สนใจ สามารถติดตามข่าวสารโครงการได้ที่
OKMD : https://www.facebook.com/OKMDInspire และ
เพจกระตุกต่อมคิดกับ Fin Lab : https://www.facebook.com/finlabforfun2024
*************************
ยูบีเอสตระหนักถึงความปลอดภัยในโรงเรียน จับมือมูลนิธิ EDF ให้ความรู้แก่นักเรียนจาก 3 โรงเรียน ในจังหวัดสระบุรี โดยมีครู ผู้ปกครอง และชุมชน เข้าร่วมด้วย
โครงการพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาเเละพัฒนากำลังคนขั้นสูง (Reinventing university) มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ลงพื้นที่เกาะหมาก อำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด เพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ สำหรับสถาบันอุดมศึกษา
โครงการพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาเเละพัฒนากำลังคนขั้นสูง (Reinventing university) มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ลงพื้นที่เกาะหมาก อำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด เพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ สำหรับสถาบันอุดมศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จัดโครงการเปิดโลกชมรม ประจำปีการศึกษา 2568 มีวัตถุประสงค์ให้นักศึกษาได้ร่วมเป็นสมาชิกชมรมที่สนใจ และสามารถพัฒนาทักษะความรู้ของตนเอง รวมทั้งการมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีให้การต้อนรับ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงทระพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในการเข้าหารือด้านการสร้างสวนป่าไม้ยืนต้น พื้นที่จันทบุรีและตราด
โครงการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ประจำปี 2568 (KMUTNB Innovation Awards 2025) ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 โดยประกวดรอบตัดสิน 12 ผลงานสุดท้าย จาก 60 ผลงานนวัตกรรมที่ผ่านรอบคัดเลือกจากทั่วประเทศ ในรูปแบบ Virtual Exhibition พร้อมการประกาศผลรางวัลถ้วยพระราชทานฯ ซึ่งการประกวดจัดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1) INNOVATIVE IDEAS (ID) ผลงานมีการแสดงแนวคิดเริ่มต้นโดยการประยุกต์ใช้หลักการพื้นฐานมาสู่การพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ และ 2) INNOVATIVE PRODUCTS (IP) เมื่อวันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน 2568