ราชภัฏรำไพฯ จับมือ ม.เกษตรฯ ยกระดับศักยภาพรอบด้าน สู่ความเป็นเลิศทางวิชาการและพัฒนาท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ผนึกกำลังมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สร้าง Synergy ขับเคลื่อนการศึกษา วิจัย บริการวิชาการ และพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) หรือ PDPC จัดการแข่งขันระดับประเทศ ในงาน “PDPA Hackathon 2024 by Krungthai x PDPC : Trust and Sustainability” โดยมีนักศึกษาที่เข้าร่วมการแข่งขันทั้ง 20 แห่ง จากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ มาร่วมระดมความคิด พัฒนาไอเดีย และสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของเยาวชนไทย ที่เป็นบุคลากรที่สำคัญของประเทศ
ดร.เวทางค์ พ่วงทรัพย์ รักษาการแทนเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เปิดเผยว่า “ปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) หรือ PDPC มุ่งเป้าไปในเรื่องของการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลไม่ให้รั่วไหลเป็นหมุดหมายสำคัญ โดยจากจุดเริ่มต้นที่ทางสคส. ได้ดำเนินการเข้าไปสุ่มตรวจสอบหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน พร้อมจัดกิจกรรมเสริมสร้างความรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ทำให้เรื่องข้อมูลรั่วไหลจากที่สูงถึง 30 เปอร์เซ็นต์ ปัจจุบันมีตัวเลขไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ นับว่าเป็นความท้าทาย และแสดงให้เห็นว่าสิ่งที่สคส.ทำมาโดยตลอด ไม่เสียเปล่า สะท้อนได้จากตัวเลขที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด”
ด้านนางสาวพรปวีณ์ หวังกุศล นักศึกษาคณะสังคมศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ ตัวแทนจากทีมผู้ชนะเลิศอันดับ 1 (RightTrack) กล่าวว่า รู้สึกดีใจและภูมิใจมากที่ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับหนึ่งจากการแข่งขัน “PDPA Hackathon 2024 by Krungthai x PDPC : Trust and Sustainablity” ซึ่งประสบการณ์จากการแข่งขันครั้งนี้ถือว่ามีประโยชน์อย่างยิ่ง โดยรางวัลที่ได้รับจะเป็นแรงบันดาลใจให้ทุกคนในทีม ยิ่งมุ่งมั่นพัฒนาตนเอง และจะใช้ความรู้ความสามารถ เพื่อสรรสร้างนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติต่อไป
สรุปผลการแข่งขัน PDPA Hackathon 2024 ในปีนี้ มีทีมที่ได้รับรางวัลทั้งหมด 3 ทีม ดังนี้
– รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีม RightTrack จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้รับเงินรางวัลจำนวน 100,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัลจากนายกรัฐมนตรี
– รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีม Dynamic Energy จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้รับเงินรางวัลจำนวน 60,000 บาทพร้อมถ้วยรางวัลจากนายกรัฐมนตรี
– รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ทีม I Have Know Idea จากมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา และมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้รับเงินรางวัลจำนวน 40,000 บาทพร้อมถ้วยรางวัลจากนายกรัฐมนตรี
ดร.เวทางค์ พ่วงทรัพย์ ได้กล่าวปิดท้ายว่า “การแข่งขันในวันนี้ เป็นกิจกรรมที่แสดงถึงความตั้งใจของทุก ๆ คน ขอขอบคุณธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ที่ร่วมให้การสนับสนุน และเป็นกำลังสำคัญในการผลักดันให้โครงการฯ นี้ เกิดขึ้น รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องทุกท่าน เจ้าหน้าที่ DPO จากหลาย ๆ หน่วยงาน และอีกมากมาย และที่สำคัญคือกลุ่มนักศึกษาผู้ร่วมแข่งขันทุกท่าน ที่ได้มาแสดงศักยภาพให้เห็น และหากมีโอกาสได้ร่วมงาน ก็เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กร เพื่อมาร่วมกันขับเคลื่อนให้ข้อมูลเป็นศูนย์ได้จริง”
PDPA Hackathon 2024 เป็นการจัดการแข่งขันโดยมีตัวแทนนิสิต/นักศึกษาที่มีทักษะความรู้เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องจำนวน 10 ทีม จากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 23 -25 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ ศูนย์ฝึกอบรมธนาคารกรุงไทย จังหวัดนครราชสีมา สำหรับผู้สนใจไอเดียนวัตกรรมสร้างสรรค์จากกลุ่มนักศึกษาเหล่านี้ สามารถรับชมภาพการแข่งขันย้อนหลังได้ที่ Facebook Fanpage : PDPC Thailand
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ผนึกกำลังมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สร้าง Synergy ขับเคลื่อนการศึกษา วิจัย บริการวิชาการ และพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ตอกย้ำบทบาทสถาบันอุดมศึกษาเพื่อท้องถิ่นอย่างแท้จริง สนับสนุนการจัดประกวดเทพีสงกรานต์จำแลงวิถีท่าใหม่ 2568 อย่างเต็มภาคภูมิ ซึ่งจัดขึ้นโดยสภาวัฒนธรรมอำเภอท่าใหม่ เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2568 ที่ผ่านมา เพื่ออนุรักษ์ประเพณีสงกรานต์ ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และเป็นเวทีแห่งความเท่าเทียม โดยได้รับเกียรติจาก ว่าที่พันตรีชาติชาย ศรีโพธิ์อ่อน นายอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี เป็นประธานในพิธีเปิดและมอบรางวัล
สมาคมผู้ช่วยผู้บริหารและเลขานุการแห่งประเทศไทย จัดให้มีการอบรมหลักสูตร "กลยุทธ์เลขาฯ มือขวาผู้บริหาร" (รุ่นที่ 1/2568 ในวันที่ 8, 15, 22 มีนาคม 2568 และ 5 เมษายน 2568) โดยมีคุณสุกันยา นินมานเหมินท์ นายกสมาคมผู้ช่วยผู้บริหารและเลขานุการแห่งประเทศไทยเป็นประธานในพิธีปิดการอบรม (ในวันที่ 5 เมษายน 2568) ณ โรงแรมเดอะ เบอร์เคลี่ย์ ประตูน้ำ กรุงเทพฯ
เมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีการเสวนาทางวิชาการเรื่อง “พลังของผู้นำทางวิชาการในบริบทของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” จัดขึ้นโดยสถาบันพัฒนาการศึกษาและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยการศึกษาเขตบริหารพิเศษฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน และคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย โดยมี ดร.รัตนา แซ่เล้า ผู้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล แผนกธรรมศาสตร์ ปี 2549 และ อ.ชัยวัฒน์ แก้วพันงาม จากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จากประเทศไทย เข้าร่วมในการเสวนาทางออนไลน์ ซึ่งได้รับความสนใจจากนักวิชาการและนักการศึกษาในภูมิภาค เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ค้นหาทางออกในการปฏิรูปการศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยหัวใจหลักของการเสวนาคือการตั้งโจทย์ว่าในภาวะที่โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว บทบาทของผู้นำครูจำเป็นต้องเป็นอย่างไร และปัจจัยใดช่วยพัฒนาศักยภาพของผู้นำครูให้ยั่งยืน
งานมหกรรมหนังสือปีนี้ไม่ได้มีเพียงหนังสือให้อ่าน แต่ยังพาทุกคนก้าวเข้าสู่ประสบการณ์การเรียนรู้แบบใหม่ที่ทั้งสนุกและท้าทาย! KaiGai แพลตฟอร์มการศึกษายุคใหม่ที่ใช้ Gamification เปลี่ยนการเรียนให้กลายเป็นเกมสุดมันส์ พร้อมเปิดบูธให้ทุกคนได้มาสัมผัสระบบ "เล่น-เรียน-รับ" ที่ทำให้การศึกษาไม่น่าเบื่ออีกต่อไป
จะเรียนต่อสายไหน ก็ห้ามพลาด 𝗗𝘂𝗿𝗵𝗮𝗺 𝗗𝗮𝘆 Meeting and Alumni Review