ปตท. ชูผลประกอบการแข็งแกร่ง มั่นใจกลยุทธ์ใหม่ถูกทาง พร้อมเพิ่มเงินปันผล ดูแลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างสมดุล
วันนี้ (21 กุมภาพันธ์ 2568)
วันที่ 16 มกราคม 2568 – นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล ครั้งที่ 5 (The 5th ASEAN Digital Ministers’ Meeting: ADGMIN) ณ โรงแรมอนันตรา ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพฯ โดยมีผู้แทนจาก 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน พร้อมคู่เจรจาสำคัญอย่างจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา อินเดีย และสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) รวมถึงผู้แทนติมอร์-เลสเต เข้าร่วมกว่า 300 คน
สำหรับการประชุมครั้งนี้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของประเทศสมาชิกอาเซียนในการพัฒนาดิจิทัลอย่างทั่วถึง เท่าเทียม และมั่นคง โดยประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพ มีความยินดีที่ได้ร่วมขับเคลื่อนภูมิภาคอาเซียนสู่การเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจดิจิทัลของโลก พร้อมเน้นหัวข้อสำคัญ “Secure, Innovative, Inclusive: Shaping ASEAN’s Digital Future” ซึ่งมุ่งสร้างระบบดิจิทัลที่ปลอดภัย ส่งเสริมนวัตกรรม และสนับสนุนการเข้าถึงเทคโนโลยีอย่างเท่าเทียม
ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีได้เข้าร่วมพิธีเปิดการประชุมอย่างเป็นทางการ และได้หยิบยกประเด็นสำคัญสามด้านสำหรับความร่วมมือด้านดิจิทัลในอาเซียน คือ (1) การจัดการปัญหาการหลอกลวงออนไลน์ ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับทุกประเทศและจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือในระดับภูมิภาคเพื่อสร้างระบบนิเวศทางดิจิทัลให้มั่นคงปลอดภัย และมีมาตรฐานในการรับมือและต่อสู้กับภัยหลอกลวงออนไลน์ (2) การแก้ไขปัญหาข้อมูลบิดเบือนซึ่งเป็นประเด็นสำคัญในโลกไซเบอร์ โดยเสนอแนะอาเซียนในเรื่องกลไกการติดตามและตรวจสอบเนื้อหาออนไลน์ ส่งเสริมการรู้เท่าทันดิจิทัลแก่ประชาชน และ (3) ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI กลายมาเป็นเทคโนโลยีที่มีความจำเป็นในปัจจุบัน และนำไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจ ขณะเดียวกัน ตระหนักถึง ความเสี่ยง และจริยธรรมในการใช้ AI ทั้งนี้ อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีศักยภาพสูงในการเป็นผู้นำและกำหนดมาตรฐาน AI ให้ทัดเทียมกับมาตรฐานโลก โดยไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดงาน Global Forum on the Ethics of AI ของยูเนสโกในปีนี้
การประชุมรัฐมนตรีดิจิทัลอาเซียนครั้งที่ 5 นี้ มีเป้าหมายสร้างอนาคตดิจิทัลที่แข็งแกร่ง ครอบคลุม และนำสมัย พร้อมก้าวข้ามความท้าทายสู่โอกาสใหม่ในภูมิภาคอย่างยั่งยืน
นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ถือเป็นโอกาสสำคัญสำหรับประเทศไทยในการแสดงศักยภาพในฐานะศูนย์กลางด้านดิจิทัลของอาเซียน โดยเฉพาะในประเด็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลและนวัตกรรม ซึ่งจะช่วยยกระดับขีดความสามารถของประเทศในหลายมิติ
“ประเทศไทยจะได้รับประโยชน์ในหลายด้านจากการประชุมครั้งนี้ ทั้งการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านดิจิทัลกับประเทศสมาชิกอาเซียนและคู่เจรจา ซึ่งจะนำไปสู่การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเทคโนโลยี รวมถึงการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลและการพัฒนาทักษะดิจิทัลของคนไทย นอกจากนี้การยกระดับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ยังเป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน และสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนในอนาคต” นายประเสริฐ กล่าว
การประชุมครั้งนี้ยังมีการหารือและรับรองเอกสารในประเด็นสำคัญ อาทิ มาตรฐานการไหลเวียนข้อมูลและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การพัฒนาเทคโนโลยีอุบัติใหม่โดยเฉพาะปัญญาประดิษฐ์เชิงสร้างสรรค์ การเสริมสร้างความมั่นคงไซเบอร์ และข้อแนะนำอาเซียนในการต่อต้านการหลอกลวงออนไลน์ ตอกย้ำบทบาทของไทยในฐานะผู้นำด้านดิจิทัลในภูมิภาค พร้อมจัดพิธีมอบรางวัล ASEAN Digital Awards 2025 เพื่อเชิดชูความสำเร็จด้านนวัตกรรมดิจิทัลในภูมิภาค
อย่างไรก็ตามการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัลครั้งนี้เป็นก้าวสำคัญในการกำหนดทิศทางการพัฒนาดิจิทัลของอาเซียน และเป็นโอกาสสำคัญที่ประเทศไทยจะยกระดับความสามารถทางดิจิทัลในระดับสากล พร้อมสร้างความร่วมมือเพื่ออนาคตที่มั่นคงและยั่งยืนในภูมิภาคนี้
ชูแนวคิด “พลังสตรีเสริมสร้างงานที่มีคุณค่า พัฒนาเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” เปิดตัว 30 สตรีทำงานดีเด่น ปี 2568 นำโดย “ผู้ว่าการ ททท. – เชอรี่ เข็มอัปสร – มิ้นท์ อรชพร” พร้อมผลักดันสิทธิลาคลอด 120 วัน และเปิดศูนย์ที่ปรึกษาแรงงานหญิง
In an era where AI and technology are advancing rapidly, the online world is filled with both opportunities and challenges. Fake information, identity fraud, and cyberattacks have become increasingly complex to handle. AI-powered bots can generate fake news, impersonate real people, and even execute financial scams seamlessly. At the same time, phishing and malware have evolved to become even more deceptive. Establishing effective, secure ways to distinguish human activity from bots online is now more important than ever.
ในยุคที่ AI และเทคโนโลยีก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โลกออนไลน์เต็มไปด้วยทั้งโอกาสและความท้าทาย ข้อมูลเท็จ การปลอมแปลงตัวตน และการโจมตีทางไซเบอร์กลายเป็นปัญหาที่ซับซ้อนและทำให้จัดการยากขึ้นเรื่อย ๆ นอกจากนี้ บอทที่ขับเคลื่อนด้วย AI สามารถสร้างข่าวปลอม ปลอมแปลงเป็นบุคคลจริง และแม้แต่ดำเนินการหลอกลวงทางการเงินได้อย่างแนบเนียน ในขณะเดียวกัน การโจมตีแบบฟิชชิ่ง (Phishing) และมัลแวร์ (Malware) นั้นมีการพัฒนาให้มีความแนบเนียนมากขึ้น การสร้างวิธีการที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพเพื่อแยกแยะกิจกรรมของมนุษย์จากบอทในโลกออนไลน์จึงมีความสำคัญมากกว่าที่เคย
จัดทำ “โครงการประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ (Logo) ครบรอบ 78 ปี อ.อ.ป.” ขึ้น เพื่อเป็นการสื่อสารและสร้างการรับรู้ในบทบาทและภารกิจของ อ.อ.ป. ต่อสาธารณชน ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อ.อ.ป. มากยิ่งขึ้น ส่งผลงานได้ตั้งแต่วันนี้ - 31 มีนาคม 2568
กลุ่ม ปตท. เดินหน้าสู่ Net Zero ศึกษาการใช้ CCUS และไฮโดรเจนคาร์บอนต่ำ