ปตท. ชูผลประกอบการแข็งแกร่ง มั่นใจกลยุทธ์ใหม่ถูกทาง พร้อมเพิ่มเงินปันผล ดูแลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างสมดุล
วันนี้ (21 กุมภาพันธ์ 2568)
Wai Man Raymond Chu ผู้อำนวยการ ศูนย์ธุรกิจและการเงินดิจิทัลนานาชาติแห่งประเทศไทย (Thailand International Digital Business & Finance Centre) หรือ TIDC ประกาศแต่งตั้ง 2 ผู้เชี่ยวชาญระดับโลกด้านคริปโตและบล็อกเชน นาย เทคิน ซาลิมิ (Tekin Salimi) และนาย รุชิ แมนเช (Rushi Manche) นั่งที่ปรึกษา เพื่อร่วมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของบล็อกเชน–Stablecoin-ส่งเสริมการใช้คริปโตเคอร์เรนซี มุ่งสร้างทีมขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของไทยให้ก้าวไปข้างหน้า
ศูนย์ธุรกิจและการเงินดิจิทัลนานาชาติแห่งประเทศไทย (Thailand International Digital Business & Finance Centre) หรือ TIDC
TIDC คือองค์กรด้าน “ระบบนิเวศดิจิทัล” แห่งแรกที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อเสริมสร้างการลงทุนในธุรกิจดิจิทัล และผลักดันนวัตกรรมดิจิทัลให้เกิดขึ้นในประเทศไทยอย่างถูกต้อง โดยได้รับการสนับสนุนจาก กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) และ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) (NT)
โดย Wai Man Raymond Chu เผยว่า “TIDC ในขณะนี้เป็นเสมือนองค์กรเพื่อธุรกิจดิจิทัลแห่งประเทศไทย เรารู้สึกยินดีที่ผู้เชี่ยวชาญระดับโลกให้เกียรติตอบรับเป็นที่ปรึกษา ร่วมพัฒนาบล็อกเชนของไทยในช่วงที่ประเทศกำลังก้าวเข้าสู่ยุคการเงินดิจิทัลอันเป็นรากฐานของการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ในวงการคริปโตและบล็อกเชน บุคคลทั้ง 2 มีชื่อเสียงที่น่านับถือและเป็นคนสำคัญที่หลายองค์กรอยากร่วมงาน ด้วยประสบการณ์ทั้งด้านการร่วมลงทุน (Venture Capital) ความปลอดภัยของบล็อกเชน และการเงินแบบไร้ศูนย์กลาง (DeFi) เป็นต้น เราเชื่อว่าทั้ง 2 ท่านจะมีส่วนร่วมที่สำคัญต่อการขับเคลื่อนประเทศไทยให้กลายเป็นศูนย์กลางดิจิทัลและการเงินชั้นนำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”
เทคิน ซาลิมิ (Tekin Salimi) – ผลักดันการลงทุนและการใช้คริปโตในระดับองค์กร
เทคิน ซาลิมิ เป็นนักธุรกิจ นักลงทุนในสตาร์ทอัพ และอดีตนักกฎหมายผู้ก่อตั้ง ‘Dao5’ หรือกองทุนบริหารสินทรัพย์คริปโตระดับแนวหน้าที่มีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารมากกว่า 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยโครงการ Dao5 ถูกออกแบบให้พัฒนาไปสู่ Decentralized Autonomous Organization (DAO) หรือโครงสร้างนวัตกรรมที่การตัดสินใจจะถูกกำหนดจากเทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ (blockchain) มากกว่าแบบรวมศูนย์
ซาลิมิ ยังได้ดำรงตำแหน่ง General Partner ที่ Polychain Capital ซึ่งเป็นบริษัทร่วมลงทุนด้านคริปโตชั้นนำระดับโลกอีกด้วย โดยมีบทบาทสำคัญในการคัดเลือกและสนับสนุนโครงการบล็อกเชนที่มีศักยภาพสูง ซึ่งปัจจุบันได้พัฒนากลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจคริปโตทั่วโลก
บทบาทของซาลิมิ ที่ TIDC จะเป็นกุญแจสำคัญในการทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของการลงทุนและนวัตกรรมบล็อกเชนในระดับภูมิภาค โดยอาศัยเครือข่ายนักลงทุนและสตาร์ทอัพระดับโลกที่มี นำเทคโนโลยีบล็อกเชนชั้นนำเข้ามาพัฒนาในประเทศไทย รวมถึงดึงดูดเงินลงทุนจากต่างชาติ นอกจากนี้ ความเชี่ยวชาญของซาลิมิในด้านการใช้คริปโตทั้งในระดับบุคคลและระดับองค์กร จะช่วยกำหนดนโยบายและกรอบการกำกับดูแล ที่ช่วยให้การบูรณาการเทคโนโลยีบล็อกเชนกับภาคการเงินของไทยเป็นไปอย่างมั่นคงและปลอดภัย
รุชิ แมนเช (Rushi Manche) – เสริมความแข็งแกร่งด้านความปลอดภัยบล็อกเชนและสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contracts)
รุชิ แมนเช เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Movement Labs บริษัทพัฒนาเทคโนโลยีบล็อกเชนที่มุ่งเน้นด้าน ความปลอดภัยและประสิทธิภาพของเครือข่ายบล็อกเชน โดย Movement Labs เป็นผู้นำในการพัฒนา Move Programming Language ซึ่งเดิมถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในโครงการบล็อกเชนของ Facebook แต่ปัจจุบันได้รับความสนใจจากอุตสาหกรรมบล็อกเชนในวงกว้าง โดยในเดือนมกราคม 2568 Movement Labs ระดมทุนรอบ Series B มูลค่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้มูลค่าบริษัทโตไปถึง 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สะท้อนถึงความทรงอิทธิพลของบริษัทในวงการบล็อกเชน และเป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญที่หารือกับ อีลอน มัสก์ ถึง Department of Government Efficiency หรือ DOGE เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนเพื่อเพิ่มความโปร่งใสและลดต้นทุนในการดำเนินงานของรัฐบาล
โดยบทบาทของแมนเช ที่ TIDC จะมีความสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานบล็อกเชนที่ปลอดภัยและสามารถเติบโตได้สำหรับประเทศไทย โดยอาศัยความเชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยของบล็อกเชนและการเขียนสัญญาอัจฉริยะ มาใช้ในระบบการเงินดิจิทัลของไทย เพื่อป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันก็สามารถรองรับการใช้งานในระดับที่ใหญ่ขึ้นได้ นอกจากนี้แนวทางที่แมนเชกำลังพัฒนากับ Elon Musk เกี่ยวกับ DOGE ยังเป็นต้นแบบที่ดีที่อาจนำมาใช้กับทางภาครัฐของไทยเพื่อสนับสนุนด้านความโปร่งใสและลดต้นทุนการดำเนินงาน
นาย Wai Man Raymond Chu เสริมว่า “ความร่วมมือกับ ซาลิมิ และ แมนเช จะเป็นแรงผลักดันสำคัญให้กับ โครงการของรัฐบาล เช่น การพัฒนา Stablecoin การส่งเสริมการใช้คริปโตในวงกว้าง หรือการพัฒนาบริการทางการเงินบนบล็อกเชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการเสริมพลังให้อนาคตดิจิทัลของประเทศไทย โดยทั้ง 2 ท่านจะช่วยกำหนดแนวทางการพัฒนาบล็อกเชน และช่วยให้ภาคเอกชนและนักลงทุนต่างชาตินำโครงการต้นแบบมาทดสอบภายใต้ Regulatory Sandbox”
การบูรณาการความเชี่ยวชาญของผู้เชี่ยวชาญเข้ากับภารกิจของ TIDC จะช่วยให้ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมบล็อกเชน ดึงดูดธุรกิจใหม่ สร้างโอกาสการจ้างงานและส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงินแบบทั่วถึง (Financial Inclusion) นอกจากนี้ จะช่วยผลักดันการจัดตั้ง Digital Economy Regulatory Sandbox (DERS) ที่เปิดโอกาสให้ภาครัฐและเอกชนทดสอบโซลูชันบล็อกเชนล้ำสมัยภายใต้กรอบการกำกับดูแล ได้อย่างเหมาะสม
การแต่งตั้งบุคคลสำคัญครั้งนี้แสดงถึงความมุ่งมั่นของ TIDC ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของไทย และสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับนวัตกรรมบล็อกเชนและคริปโตในภูมิภาค
ชูแนวคิด “พลังสตรีเสริมสร้างงานที่มีคุณค่า พัฒนาเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” เปิดตัว 30 สตรีทำงานดีเด่น ปี 2568 นำโดย “ผู้ว่าการ ททท. – เชอรี่ เข็มอัปสร – มิ้นท์ อรชพร” พร้อมผลักดันสิทธิลาคลอด 120 วัน และเปิดศูนย์ที่ปรึกษาแรงงานหญิง
In an era where AI and technology are advancing rapidly, the online world is filled with both opportunities and challenges. Fake information, identity fraud, and cyberattacks have become increasingly complex to handle. AI-powered bots can generate fake news, impersonate real people, and even execute financial scams seamlessly. At the same time, phishing and malware have evolved to become even more deceptive. Establishing effective, secure ways to distinguish human activity from bots online is now more important than ever.
ในยุคที่ AI และเทคโนโลยีก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โลกออนไลน์เต็มไปด้วยทั้งโอกาสและความท้าทาย ข้อมูลเท็จ การปลอมแปลงตัวตน และการโจมตีทางไซเบอร์กลายเป็นปัญหาที่ซับซ้อนและทำให้จัดการยากขึ้นเรื่อย ๆ นอกจากนี้ บอทที่ขับเคลื่อนด้วย AI สามารถสร้างข่าวปลอม ปลอมแปลงเป็นบุคคลจริง และแม้แต่ดำเนินการหลอกลวงทางการเงินได้อย่างแนบเนียน ในขณะเดียวกัน การโจมตีแบบฟิชชิ่ง (Phishing) และมัลแวร์ (Malware) นั้นมีการพัฒนาให้มีความแนบเนียนมากขึ้น การสร้างวิธีการที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพเพื่อแยกแยะกิจกรรมของมนุษย์จากบอทในโลกออนไลน์จึงมีความสำคัญมากกว่าที่เคย
จัดทำ “โครงการประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ (Logo) ครบรอบ 78 ปี อ.อ.ป.” ขึ้น เพื่อเป็นการสื่อสารและสร้างการรับรู้ในบทบาทและภารกิจของ อ.อ.ป. ต่อสาธารณชน ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อ.อ.ป. มากยิ่งขึ้น ส่งผลงานได้ตั้งแต่วันนี้ - 31 มีนาคม 2568
กลุ่ม ปตท. เดินหน้าสู่ Net Zero ศึกษาการใช้ CCUS และไฮโดรเจนคาร์บอนต่ำ