ปตท. ชูผลประกอบการแข็งแกร่ง มั่นใจกลยุทธ์ใหม่ถูกทาง พร้อมเพิ่มเงินปันผล ดูแลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างสมดุล
วันนี้ (21 กุมภาพันธ์ 2568)
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) หรือ PDPC ประกาศแต่งตั้ง พ.ต.อ.สุรพงศ์ เปล่งขำ เข้ารับตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล อย่างเป็นทางการ แทน ดร.เวทางค์ พ่วงทรัพย์ ซึ่งดำรงตำแหน่งรักษาการแทนมาก่อนหน้านี้ พร้อมประกาศจุดยืนในการขับเคลื่อน PDPC สู่ระดับสากล เดินหน้าสานต่อนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเชิงรุก วางมาตรการเข้มข้นเพื่อป้องกันการรั่วไหลของข้อมูล ตั้งเป้าผลักดันไทยสู่มาตรฐานสากล สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนและภาคธุรกิจ โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือ ข้อมูลรั่วไหลเป็น “0” ด้วย 4 กลยุทธ์หลัก มาตรการป้องปราม, มาตรการป้องกัน, การผนึกกำลัง และการพัฒนาเทคโนโลยี
พ.ต.อ.สุรพงศ์ เปล่งขำ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กล่าวว่า ในโอกาสที่เข้ารับตำแหน่งนี้ มีความตั้งใจจะสานต่อนโยบายเดิมของ สคส. โดยมุ่งเน้นการยกระดับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศไทยให้มีมาตรฐานเทียบเท่าระดับสากล และเป็นที่ยอมรับจากทั่วโลก ด้วยกลยุทธ์หลักสำคัญทั้ง 4 ด้านคือ
ทั้งนี้ ก่อนหน้าที่จะมาดำรงตำแหน่งเลขาธิการคนใหม่ของ สคส. พ.ต.อ. สุรพงศ์ เปล่งขำ ได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบและกำกับดูแล ของ สคส. รับผิดชอบกำกับดูแลศูนย์เฝ้าระวังการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPC Eagle Eye มีผลงานโดดเด่นมากมาย นอกจากนี้ยังเป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านกฎหมาย และประสบการณ์การทำงานด้านงานบริหารมากว่า 20 ปี
“เรามุ่งมั่นที่จะสร้างอนาคตที่ปลอดภัยสำหรับข้อมูลส่วนบุคคล โดยเดินหน้าพัฒนาองค์กรให้เป็นต้นแบบด้านการคุ้มครองข้อมูลที่ประชาชน และภาคธุรกิจวางใจได้ ด้วยมาตรการที่เข้มข้น กลยุทธ์ที่ชัดเจน โดยตั้งเป้าสร้างเกราะป้องกันข้อมูลให้แข็งแกร่ง ลดความเสี่ยงจากอาชญากรรมไซเบอร์ และเสริมสร้างความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจดิจิทัลของไทย ก้าวสู่มาตรฐานสากลอย่างมั่นคง เพื่อไปถึงเป้าหมายข้อมูลรั่วไหลเป็น “0” ได้ในที่สุด” พ.ต.อ.สุรพงศ์ เปล่งขำ กล่าวสรุปในตอนท้าย
ชูแนวคิด “พลังสตรีเสริมสร้างงานที่มีคุณค่า พัฒนาเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” เปิดตัว 30 สตรีทำงานดีเด่น ปี 2568 นำโดย “ผู้ว่าการ ททท. – เชอรี่ เข็มอัปสร – มิ้นท์ อรชพร” พร้อมผลักดันสิทธิลาคลอด 120 วัน และเปิดศูนย์ที่ปรึกษาแรงงานหญิง
In an era where AI and technology are advancing rapidly, the online world is filled with both opportunities and challenges. Fake information, identity fraud, and cyberattacks have become increasingly complex to handle. AI-powered bots can generate fake news, impersonate real people, and even execute financial scams seamlessly. At the same time, phishing and malware have evolved to become even more deceptive. Establishing effective, secure ways to distinguish human activity from bots online is now more important than ever.
ในยุคที่ AI และเทคโนโลยีก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โลกออนไลน์เต็มไปด้วยทั้งโอกาสและความท้าทาย ข้อมูลเท็จ การปลอมแปลงตัวตน และการโจมตีทางไซเบอร์กลายเป็นปัญหาที่ซับซ้อนและทำให้จัดการยากขึ้นเรื่อย ๆ นอกจากนี้ บอทที่ขับเคลื่อนด้วย AI สามารถสร้างข่าวปลอม ปลอมแปลงเป็นบุคคลจริง และแม้แต่ดำเนินการหลอกลวงทางการเงินได้อย่างแนบเนียน ในขณะเดียวกัน การโจมตีแบบฟิชชิ่ง (Phishing) และมัลแวร์ (Malware) นั้นมีการพัฒนาให้มีความแนบเนียนมากขึ้น การสร้างวิธีการที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพเพื่อแยกแยะกิจกรรมของมนุษย์จากบอทในโลกออนไลน์จึงมีความสำคัญมากกว่าที่เคย
จัดทำ “โครงการประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ (Logo) ครบรอบ 78 ปี อ.อ.ป.” ขึ้น เพื่อเป็นการสื่อสารและสร้างการรับรู้ในบทบาทและภารกิจของ อ.อ.ป. ต่อสาธารณชน ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อ.อ.ป. มากยิ่งขึ้น ส่งผลงานได้ตั้งแต่วันนี้ - 31 มีนาคม 2568
กลุ่ม ปตท. เดินหน้าสู่ Net Zero ศึกษาการใช้ CCUS และไฮโดรเจนคาร์บอนต่ำ