อ.อ.ป. ประกาศผลการตัดสินการประกวด “ตราสัญลักษณ์ (Logo) ครบรอบ 78 ปี”
อ.อ.ป. ประกาศผลการตัดสินการประกวด “ตราสัญลักษณ์ (Logo) ครบรอบ 78 ปี”
โดยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถประเทศไทยในการรับมือ และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เชื่อมโยงเป้าหมายการปรับตัวระดับโลก ระดับประเทศ สู่การปฏิบัติระดับท้องถิ่น
โดยมีนายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานในพิธีพร้อมลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือ ร่วมกับ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายสรวงศ์ เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และนายอิทธิ ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อีกทั้ง ได้รับเกียรติจาก นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เข้าร่วมพิธี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล
นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วนของสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ ปัจจุบันรูปแบบของภูมิอากาศทั่วโลกในบางพื้นที่เริ่มเปลี่ยนแปลงและเห็นได้อย่างชัดเจน เมื่อเทียบกับอดีตก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม
ซึ่งประเทศไทยจะเผชิญความเสี่ยงที่รุนแรงและยากต่อการคาดการณ์มากขึ้น โดยรัฐบาลให้ความสำคัญกับวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและเป็นวาระเร่งด่วน ซึ่งที่ผ่านมาได้จัดทำแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ (NAP) ที่สอดคล้องกับเป้าหมายด้านการปรับตัวระดับโลก ที่ให้ความสำคัญกับ 6 สาขาที่มีความเสี่ยง ได้แก่ การจัดการทรัพยากรน้ำ เกษตรและความมั่นคงทางอาหาร สาธารณสุข การท่องเที่ยว การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และการตั้งถิ่นฐานและความมั่นคงของมนุษย์
ดังนั้น การดำเนินงานระหว่างสาขา จะต้องสอดคล้องและบูรณาการ โดยเฉพาะข้อมูลความเสี่ยงภัย การคาดการณ์ผลกระทบและความรุนแรง การเตือนภัยล่วงหน้า รวมถึงการอพยพและฟื้นฟูสถานการณ์ ซึ่งความร่วมมือระหว่าง 7 กระทรวง จึงถือเป็นก้าวสำคัญที่จะช่วยลดความสูญเสียและความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน รวมถึงสร้างความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจและสร้างภูมิคุ้มกันของประเทศในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
ด้าน นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า จากการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 29 หรือ COP29 ที่ผ่านมา ได้มีการพิจารณากรอบในการจัดทำตัวชี้วัดเป้าหมายด้านการปรับตัวระดับโลก เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการฟื้นตัวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ขณะที่ล่าสุดประเทศไทยได้ถูกจัดอันดับประเทศเสี่ยงสูงด้านสภาพภูมิอากาศระยะยาวในช่วง 30 ปี (ปี ค.ศ. 1993-2022) อยู่ในอันดับที่ 30 ซึ่งลดลงจากอันดับ 9 เทียบกับ 4 ปีที่แล้ว
ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เป็นประเทศที่มีความเสี่ยงสูงในอันดับต้นแล้ว แต่ประเทศไทยยังคงต้องเผชิญกับผลกระทบต่างๆ อย่างต่อเนื่อง จึงมีความจำเป็นที่ต้องเร่งดำเนินการเรื่องการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม เชื่อมโยงเป้าหมายด้านการปรับตัวระดับโลกและระดับประเทศสู่ระดับจังหวัดและท้องถิ่นอย่างบูรณาการและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้บูรณาการการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง 6 สาขา ประกอบด้วย กระทรวงมหาดไทย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยมีการลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข เมื่อเดือนมิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา สำหรับในวันนี้นับว่าเป็นก้าวสำคัญของความร่วมมือระหว่างกระทรวง ครบทั้ง 6 สาขา ซึ่งแต่ละสาขามีเป้าหมาย ดังนี้
1. การจัดการทรัพยากรน้ำ: เพิ่มความมั่นคงด้านน้ำของประเทศ ลดความสูญเสียและเสียหายจากภัยพิบัติที่เกิดจากน้ำ
2. เกษตรและความมั่นคงทางอาหาร: รักษาผลิตภาพการผลิตและความมั่นคงทางอาหาร ภายใต้ความเสี่ยงและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
3. การท่องเที่ยว: เพิ่มขีดความสามารถของภาคการท่องเที่ยวให้มีการเติบโตอย่างยั่งยืนและรองรับความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
4. สาธารณสุข: มีระบบสาธารณสุขที่สามารถจัดการความเสี่ยงและลดผลกระทบต่อสุขภาพจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ: บริหารจัดการทรัพยากรธรรมขาติและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน เพื่อรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
6. การตั้งถิ่นฐานและความมั่นคงของมนุษย์: ประชาชน ชุมชน และเมืองมีความพร้อมและขีดความสามารถในการปรับตัวต่อความเสี่ยงและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่
ทั้งนี้ หลังจากการลงนามในบันทึกความเข้าใจความร่วมมือฯ แล้ว กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม จะดำเนินการหารืออย่างใกล้ชิดกับหน่วยประสานงานกลางรายสาขาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินงานร่วมกัน และเตรียมความพร้อมในการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศรายสาขา
ซึ่งจะเป็นกรอบการดำเนินงานหลักที่ถ่ายทอดสู่การปฏิบัติทั้งในระดับหน่วยงานและระดับพื้นที่ ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดงานวิจัย นวัตกรรม ข้อมูลสารสนเทศและองค์ความรู้เรื่องความเสี่ยงและการปรับตัว สนับสนุนการดำเนินงานภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ สร้างความตระหนักรู้ให้กับกลุ่มเปราะบาง เสริมสมรรถนะในการปรับตัวต่ออันตรายและภัยพิบัติจากธรรมชาติในทุกรูปแบบ ให้ประเทศไทยมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืน
อ.อ.ป. ประกาศผลการตัดสินการประกวด “ตราสัญลักษณ์ (Logo) ครบรอบ 78 ปี”
เวทีเสวนา COSMOPROF CBE ASEAN "Building Iconic Beauty Brands: Strategy, Story, Success" ดึงกูรูนักการตลาด ผู้บริหาร และเจ้าของ แบรนด์ ร่วมเผยเคล็ดลับนำแบรนด์ไทยสู่ระดับสากล
Super Trader Republic หรือ SPTR ในเครือ บริษัท นิวส์ เน็ตเวิร์ค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ NEWS ประกาศส่งกองทัพ “โค้ช” ชื่อดังของสถาบัน ขึ้นถ่ายทอดความรู้-เทคนิคการลงทุนแบบไม่มีกั๊กบนเวทีงาน “มหกรรมการเงินกรุงเทพ ครั้งที่ 25” หรือ MONEY EXPO 2025 BANGKOK พร้อมตั้งบูธให้ความรู้ สามารถเยี่ยมชมได้ตลอดงาน ณ บูธเลขที่ P57
ปตท. ลงนามสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติส่วนเพิ่มแหล่งอาทิตย์เสริมความมั่นคงพลังงานไทย
เดือนนี้ถือเป็นเดือนแห่งการให้ความสำคัญกับสิทธิ ความเท่าเทียม และคุณภาพชีวิตของแรงงาน แต่เบื้องหลังแรงงานเหล่านี้ คือ แรงงานเด็กในวัยเรียนจำนวนมากที่ต้องหลุดออกจากระบบการศึกษา นี่อาจเป็นจุดเริ่มต้นของวงจรที่นำไปสู่การหมดโอกาสและกลายเป็นแรงงานที่ขาดศักยภาพในอนาคต ด้วยเหตุนี้ เราควรหันมาตระหนักถึงความสำคัญ หากต้องการแรงงานที่มีคุณภาพในวันข้างหน้า เราควรเริ่มจากวันนี้ ด้วยการสร้างโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียมให้กับเด็กทุกคน
อ.อ.ป. ร่วมประชุมภาคีป่าไม้แห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ 20 (UNFF20)