MCC คว้ารางวัล 2024 Transformation Chapter Distributor Award จากงาน IBM Executive Partner Connect 2025
MCC คว้ารางวัล 2024 Transformation Chapter Distributor Award จากงาน IBM Executive Partner Connect 2025
บทบาทของสตรีในสังคมไทยได้ก้าวหน้าและเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งที่เห็นได้ชัดคือ “ภาวะผู้นำหญิง” ที่มีทั้งจำนวน อิทธิพล และคาแรกเตอร์ที่โดดเด่นในยุคที่มีการเรียกร้องความเท่าเทียมทางเพศในสังคมมากขึ้น โดยยังได้เห็นการสอดแทรก “บทบาทสตรี” ในช่องทางการสื่อสาร รวมถึงสื่อบันเทิงเพื่อชี้ให้สังคมได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญดังกล่าว พร้อมกระตุ้นและสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้หญิงกล้าและพร้อมที่จะสวมบทบาทผู้นำในแวดวงต่าง ๆ มากขึ้นกว่าเดิม เพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักถึงความเท่าเทียม และการกระจายบทบาทผู้นำไปสู่กลุ่มสตรีเพศ วันนี้ ดร.โกสุม โอมพรนุวัฒน์ ผู้อำนวยการหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสตรี เพศสถานะ และเพศวิถีศึกษา วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงมาเปิดเผยมุมมองเกี่ยวกับบทบาทของผู้นำหญิงที่สะท้อนผ่านตัวละครในสื่อภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ และซีรีส์ ซึ่งเป็นกระจกสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงและอิทธิพลของผู้นำหญิงในโลกยุคใหม่ พร้อมทั้งจุดประกายให้ประชาคมมองเห็นศักยภาพของสตรีในฐานะผู้นำที่ขับเคลื่อนโลกไปข้างหน้า
ดร. โกสุม ให้ข้อมูลว่า ภาวะผู้นำหญิงในสังคมไทยได้รับการยอมรับมากขึ้นในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา แม้ว่าสังคมยังคงมีมุมมองที่ผูกติดกับภาพลักษณ์ของผู้นำที่มีลักษณะเฉพาะเช่น ความมั่นใจ ความกล้าตัดสินใจ และมีวิสัยทัศน์ ซึ่งมักถูกมองว่าเป็นคุณสมบัติที่เชื่อมโยงกับความเป็นชาย แต่ปัจจุบันก็เริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงในแง่ของการรับรู้ภาวะผู้นำหญิงที่สามารถแสดงออกด้วยความฉลาดทางอารมณ์และภาวะผู้นำที่เน้นการมีส่วนร่วม ความสามารถในการฟังและการทำงานร่วมกับทีม ถือเป็นจุดแข็งที่ผู้นำหญิงสามารถใช้ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เท่าเทียมและครอบคลุม โดยเน้นการสร้างความร่วมมือและการบริหารที่อิงกับความเห็นอกเห็นใจ เพื่อเสริมสร้างการเติบโตและการเปลี่ยนแปลงในองค์กรได้
“ถึงแม้ว่าสังคมไทยจะมีการพัฒนาทางด้านภาวะผู้นำหญิง แต่ยังคงมีความท้าทายที่ผู้หญิงต้องเผชิญ เช่น อคติทางเพศที่แฝงอยู่ในการประเมินผลการปฏิบัติงาน รวมถึงอุปสรรคในการเข้าถึงตำแหน่งบริหารระดับสูง นอกจากนี้ ผู้หญิงยังต้องเผชิญกับความคาดหวังต่อบทบาทตามเพศสถานะที่ยึดโยงผู้หญิงกับการดูแลลูกและครอบครัว ผู้หญิงถูกคาดหวังให้ทำงานดูแลที่ไม่ได้รับค่าจ้างและการทำงานนอกบ้านเพื่อหารายได้ไปพร้อมกัน เป็นภาระงานสองด้าน ที่ทำให้เกิดภาวะการขาดแคลนเวลา ซึ่งส่งผลกระทบต่อโอกาสในการพัฒนาศักยภาพและการก้าวสู่ตำแหน่งสูงสุดในองค์กร”
ดร. โกสุม เล่าต่อว่า สื่อภาพยนตร์หรือซีรีส์ร่วมสมัยสามารถเป็นกระจกสะท้อนถึงบทบาทผู้นำหญิงในชีวิตจริงนั้น ส่วนตัวมองว่า ‘อาจยังไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์’ เพราะ ‘ชีวิตจริง’ คือสิ่งที่หลากหลายและไม่สามารถถูกจับมาวัดโดยตรงจากสิ่งที่ปรากฏในสื่อได้อย่างสมบูรณ์แบบ แต่อย่างไรก็ตาม ตัวละครหญิงในสื่อสามารถเป็น ‘กระจกสะท้อน’ ให้เห็นภาพของการต่อสู้และการพัฒนาในบทบาทผู้นำในหลาย ๆ ด้านได้ และบางครั้งอาจเป็น ‘แรงผลักดัน’ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้ ตัวอย่างเช่น ซีรีส์หรือภาพยนตร์ที่นำเสนอผู้หญิงในฐานะนักการเมือง นักธุรกิจ หรือผู้นำกระบวนการเปลี่ยนแปลง มักสะท้อนเสียง อำนาจ และการต่อสู้ของผู้หญิง การพิสูจน์ความสามารถในระบบที่มีอุปสรรคสำหรับผู้หญิง รวมถึงการแสดงให้เห็นว่า ผู้หญิงสามารถกำหนดชะตาชีวิตของตนเองได้ และไม่จำเป็นต้องพึ่งพาผู้ชายในการดำเนินชีวิต
“ถึงแม้ว่าจะมีตัวละครหญิงที่แข็งแกร่งมากขึ้นในสื่อ แต่ยังมีข้อจำกัดที่ต้องพิจารณา เช่น ตัวละครหญิงที่มีอำนาจมักถูกทำให้เป็นตัวร้าย หรือมักจะต้องเผชิญกับการลงโทษในตอนจบ ซึ่งสะท้อนถึงการยึดติดกับอคติทางเพศที่มองว่าอำนาจของผู้หญิงไม่สามารถอยู่ได้ในแบบที่เป็นธรรมชาติ หรือมีความสมดุล ในขณะเดียวกัน ตัวละครเหล่านี้มักจะถูกนำเสนอในกรอบของ ‘Superwoman’ ที่ต้องมีความสมบูรณ์แบบตลอดเวลา ทั้งในแง่การทำงานและชีวิตส่วนตัว ซึ่งอาจเป็นการยากที่จะสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นจริงในชีวิตของผู้นำหญิงที่สามารถล้มลุกคลุกคลานและยังคงมีความเป็นมนุษย์อยู่ในตัวเอง นอกจากนี้ ยังมีการเน้นความขัดแย้งระหว่างผู้หญิงด้วยกันเอง มากกว่าการสนับสนุนกัน ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการสร้างภาพลักษณ์ที่เสริมสร้างการทำงานร่วมกันในสังคม”
ดร. โกสุม กล่าวเพิ่มเติมว่า อิทธิพลของตัวละครหญิงที่มีอำนาจและความสามารถในการตัดสินใจในสื่อมีผลต่อการรับรู้และการยอมรับภาวะผู้นำของสตรีในสังคมอย่างลึกซึ้ง เมื่อสื่อแสดงภาพของผู้หญิงที่สามารถตัดสินใจได้อย่างมีกลยุทธ์และมีอำนาจในการกำหนดทิศทาง ผู้ชมจะเริ่มมองเห็นว่าผู้หญิงสามารถเป็นผู้นำได้ ซึ่งส่งผลให้ความเชื่อเรื่องผู้นำหญิงมีความสามารถได้รับการยอมรับในวงกว้างมากขึ้น กระบวนการนี้เรียกว่า ‘Role Model Effect’ ซึ่งจะช่วยให้ผู้หญิงในชีวิตจริงเห็นต้นแบบของความเป็นผู้นำของผู้หญิง มีแรงบันดาลใจ และก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำมากขึ้น และทำให้สังคมเริ่มเปิดใจยอมรับผู้นำหญิงในทุกระดับไม่ว่าจะเป็นในภาคสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ
ส่วนในแง่ของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจในภาคสังคม การเมืองและเศรษฐกิจ สื่อสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจน เมื่อผู้คนเริ่มเห็นผู้นำหญิงในสื่อ พวกเขาจะเริ่มตั้งคำถามว่า ‘ทำไมในชีวิตจริงเราถึงไม่มีผู้นำหญิงมากกว่านี้?’ สิ่งนี้สามารถผลักดันให้เกิดนโยบายที่สนับสนุนผู้นำหญิงมากขึ้น เช่น โควตาเพศในการเลือกตั้ง หรือการสนับสนุนให้ผู้หญิงลงสมัครรับเลือกตั้งในตำแหน่งต่าง ๆ อีกทั้งสื่อยังสามารถช่วยท้าทาย ‘เพดานแก้ว’ (Glass Ceiling) โดยแสดงให้เห็นว่าผู้หญิงสามารถเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้จริง ซึ่งช่วยลดอคติทางเพศและส่งเสริมโอกาสทางเศรษฐกิจให้ผู้หญิงมากขึ้น แต่เราต้องตระหนักว่า ในบางครั้งสื่อยังคงมีการนำเสนอตัวละครหญิงในกรอบที่จำกัด อย่างการทำให้ผู้หญิงที่มีอำนาจกลายเป็นตัวร้าย ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงต้องมาจากการสร้างสื่อที่สะท้อนความเป็นจริงอย่างหลากหลายและเท่าเทียมมากยิ่งขึ้น
ยุคสมัยของความเท่าเทียมทางเพศนี้ ภาวะผู้นำหญิงได้ก้าวข้ามขีดจำกัดของสังคมที่เคยเห็นว่าผู้ชายคือผู้นำเพียงเพศเดียว เพราะผู้นำหญิงไม่เพียงแค่เป็นสัญลักษณ์ของความก้าวหน้าเท่านั้น แต่ยังเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจในองค์กรและสังคม โดยการนำแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วม (Participative Leadership) ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างทีมงานและการร่วมมือจากทุกฝ่าย รวมถึงการเป็นผู้นำที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในยุคที่มีความรวดเร็วทั้งด้านเทคโนโลยีและสังคม ผู้นำหญิงยุคใหม่ไม่เพียงแค่สนับสนุนการพัฒนาในองค์กร แต่ยังเป็นกระบอกเสียงสำคัญในการเรียกร้องสิทธิของผู้หญิงและความเท่าเทียมทางเพศในทุกภาคส่วน
“รองศาสตราจารย์ เกศินี วิฑูรชาติ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นหนึ่งในต้นแบบที่น่าเรียนรู้ของผู้นำที่สามารถก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดและบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ และมีบทบาทสำคัญในการพัฒนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้เป็นมหาวิทยาลัยที่มีมาตรฐานระดับสากล โดยใช้แนวคิด Inclusive Leadership เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนา นอกจากนี้ ยังแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการขับเคลื่อนองค์กรผ่านวิกฤตต่าง ๆ เช่น การจัดตั้งโรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์เพื่อช่วยเหลือสังคมในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 และผลักดันมหาวิทยาลัยเข้าสู่ยุคดิจิทัล สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า ผู้นำหญิงในปัจจุบันไม่เพียงแค่มีความสามารถในการบริหารจัดการ แต่ยังสามารถนำพาความเปลี่ยนแปลงมาสู่สังคมและสร้างความยั่งยืนได้ โดยมุ่งเน้นการสนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศและการพัฒนาสังคมอย่างครอบคลุม”
แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ภาวะผู้นำหญิงก้าวหน้าในสังคมไทย คือ การเปลี่ยนแปลงเชิงวัฒนธรรม การศึกษา และการยอมรับของสังคมต่อแนวคิดเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ เราต้องผลักดันให้มีนโยบายและโครงสร้างที่เอื้อต่อการเติบโตของผู้นำหญิง ไม่ใช่แค่การให้ที่นั่งในโต๊ะประชุม แต่ต้องสร้างพื้นที่ที่เสียงของผู้หญิงมีความหมายจริง ๆ และผู้นำที่แท้จริงไม่ใช่ผู้ที่ยืนอยู่ข้างหน้าเพื่อแสดงตัว แต่คือผู้ที่ยืนเคียงข้างและยกมือให้ทุกคนก้าวไปข้างหน้าไปด้วยกัน“
MCC คว้ารางวัล 2024 Transformation Chapter Distributor Award จากงาน IBM Executive Partner Connect 2025
ชมผลงานก่อนประมูล (Auction Preview): 27 – 29 เมษายน Live Auctions: 30 เมษายน – 3 พฤษภาคม สถานที่: ชั้น 4 Shun Tak Centre
SUPARNO JEWELRY ยืนหยัดด้วยแนวคิดที่แตกต่าง นำเสนอเครื่องประดับในฐานะ "เสียงสะท้อนตัวตน" ของผู้สวมใส่ ภายใต้ปรัชญา THE VOICE OF JEWELRY ที่เน้นความเข้าถึงง่าย คุ้มค่า และเปี่ยมด้วยความหมาย
โฮมโปร สานต่อแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนก้าวสู่ความยั่งยืนเต็มรูปแบบ ส่ง Circular Products สินค้ารักษ์โลก จากวัสดุหมุนเวียน ผ่านโครงการ 'แลกเก่าเพื่อโลกใหม่' ลุยตลาดรักษ์โลก เปลี่ยนของเก่าที่ไม่ใช้แล้ว ให้กลับมาเป็นของใหม่ที่มีคุณค่า
กองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM) หรือ ดีพร้อม เปิดโอกาสครั้งสำคัญ รับสมัครคนในวงการ “หัตถอุตสาหกรรมไทย” ทั่วประเทศ ร่วมติวเข้มความรู้ เชื่อมต่อเครือข่าย สู่เวทีระดับโลก! (THAI Craft to the World) ในกิจกรรม “พัฒนาบุคลากรหัตถอุตสาหกรรมไทย” ภายใต้โครงการพัฒนาและเชื่อมโยงเครือข่ายบุคลากรอุตสาหกรรมแฟชั่น (Fashion Alliance) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
Fostering Artistic Diversity and Connecting Hong Kong, Macau, and the World Through Iconic Cultural Events