ศรีตรังโกลฟส์จับมือคณะทันตแพทยศาสตร์ มศว ส่งมอบถุงมือยางแห่งชีวิตสู่การดูแลด้วยหัวใจ
ศรีตรังโกลฟส์จับมือคณะทันตแพทยศาสตร์ มศว ส่งมอบถุงมือยางแห่งชีวิตสู่การดูแลด้วยหัวใจ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2568
23 พฤษภาคม 2568 ที่ห้อง 40203 อาคารคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (อาคาร 40) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิชลัดดา อุ่นสะอาด คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดโครงการยกระดับนักนวัตกรท้องถิ่นสู่สากล ปีที่ 3 ภายใต้ธีมงาน Cosmetic Health Food Environment and Agriculture ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี , มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง , มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ , มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ และบริษัทเอสแอนด์เจ อินเตอร์เนชั่นแนล เอนเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) โดยมีเป้าหมายร่วมกันในการยกระดับนักเรียนสู่การเป็นนักนวัตกรที่สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกระบวนการวิจัย จนสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่นสู่มาตรฐานในระดับสากล วัตถุประสงค์ของการจัดโครงการในวันนี้ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดนักนวัตกรตั้งแต่ระดับโรงเรียน และเพื่อช่วยให้นักเรียนสามารถสร้างสรรค์ผลงานนำไปสู่ต้นแบบนวัตกรรมที่สามารถต่อยอดในเชิงพานิชย์และสามารถแข่งขันในระดับสากลได้อย่างต่อเนื่อง
ซึ่งการจัดโครงการในครั้งนี้นับเป็นปีที่ 3 ในการดำเนินการผู้ร่วมโครงการ จะได้เรียนรู้ ในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมสินค้าเพื่อสุขภาพ อาหารและความงาม ของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี , การพัฒนานวัตกรรมสู่แผนธุรกิจ , การเขียนโครงร่างงานนวัตกรรมฉบับสมบูรณ์ และ กิจกรรม Pitching to the moon โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านจากหลากหลายสาขาที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการ เป็นนักเรียนจากโรงเรียนมัธยมในพื้นที่ภาคตะวันออกและจังหวัดเพชรบูรณ์ 21 โรงเรียน รวมมีทั้งสิ้น 35 ทีม และภายหลังจากเสร็จสิ้นโครงการในวันนี้ แต่ละโรงเรียนจะนำความรู้ที่ได้ไปเขียนโครงร่างฉบับสมบูรณ์เพื่อส่งเข้ารับการคัดเลือกในรอบแรก ซึ่งมหาวิทยาลัยจะเป็นพี่เลี้ยงในการพัฒนาเพื่อนำเสนอไอเดียอีกครั้งในรอบที่สองเพื่อสนับสนุนงบประมาณในการสร้างและพัฒนานวัตกรรม โดยมีคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยเป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาตลอดระยะเวลา และสุดท้ายจะเป็นเวทีการประกวดแข่งขันชิงรางวัลโดยนำเสนอผลงานร่วมกันของทั้ง 4 มหาวิทยาลัยดังกล่าวข้างต้น โดยในปีนี้จัดโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ซึ่งถือได้ว่าเป็นเวทีการประกวดแข่งขันระดับประเทศ
ศรีตรังโกลฟส์จับมือคณะทันตแพทยศาสตร์ มศว ส่งมอบถุงมือยางแห่งชีวิตสู่การดูแลด้วยหัวใจ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2568
“Sea & Science Camp 2025” เติมเต็มการเรียนรู้ สู่โลกทะเลกว้าง ค่ายที่ผสานวิทยาศาสตร์ ธรรมชาติ และการอนุรักษ์ไว้รอบด้านอย่างลงตัว
ทีมหุ่นยนต์ iRAP_economy คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.)คว้ารางวัลชนะเลิศ และ รางวัลเทคนิคยอดเยี่ยม จากการแข่งขันหุ่นยนต์ ABU ชิงชนะเลิศประเทศไทย ประจำปี พ.ศ.2568 ได้เป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขัน ABU Asia-Pacific Robot Contest 2025 ณ กรุงอูลานบาตอร์ ประเทศมองโกเลีย ระหว่างวันที่ 22–26 สิงหาคม 2568
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ร่วมกับสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และสมาคมศิษย์เก่า มจพ. ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดงานเลี้ยงแสดงความขอบคุณแก่ทีมหุ่นยนต์กู้ภัย มจพ. ที่เสร็จสิ้นภารกิจค้นหาผู้ประสบภัยพิบัติและกู้ซากอาคาร สตง. จากเหตุแผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ร่วมกับสำนักงานปศุสัตว์จันทบุรี ให้บริการทำหมัน ฉีดวัคซีนสัตว์เลี้ยงในพื้นที่มหาวิทยาลัย และสร้างการตระหนักรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ในมหาวิทยาลัยอย่างเป็นระบบ
“Environmental Camp 2025” โดย EQ Camp ออกแบบกิจกรรมให้เรียนรู้ผ่านการลงมือทำจริง (Action Learning) ผสานศาสตร์หลากแขนง เพื่อให้นักเรียนเข้าใจ “สิ่งแวดล้อม” อย่างลึกซึ้งและสร้างแรงบันดาลใจในการใส่ใจและดูแลรักษาระบบนิเวศบนโลกใบนี้