บริการติดตั้งโซล่าเซลล์บ้าน ราคาถูก
ให้คุณมั่นใจในคุณภาพและบริการติดโซล่าเซลล์ราคาถูกจากเรา ช่วยให้คุณประหยัดค่าไฟฟ้าได้อย่างยั่งยืน
การสัมมนาครั้งนี้มุ่งนำเสนอข้อมูลจริงเพื่อให้ผู้บริหารองค์กรเข้าใจโครงสร้างต้นทุนสุขภาพที่กำลังเปลี่ยนแปลง และเห็นแนวทางใหม่ในการบริหารสวัสดิการพนักงานอย่างยั่งยืน โดยนำเสนอแนวทางบริหารสวัสดิการสุขภาพพนักงานด้วยโมเดล Self-Insured ที่เป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้องค์กรออกแบบแผนสวัสดิการสุขภาพได้ตามความต้องการของแต่ละกลุ่มพนักงาน เพื่อสร้างสมดุลระหว่างการบริหารต้นทุนสวัสดิการสุขภาพและสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานในองค์กร เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน
นพ.สุธร ชุตินิยมการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร BVTPA กล่าวเปิดงานว่า “การจัดสัมมนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และนำเสนอทิศทางต้นทุนค่ารักษาพยาบาลในประเทศไทยซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาถึงปัจจัยสำคัญอย่างอัตราเงินเฟ้อทางการแพทย์ (Medical Inflation) ที่อยู่ในระดับสูงถึงประมาณ 11–14% ต่อปี องค์กรต่าง ๆ จึงควรตระหนักถึงความจำเป็นในการใช้ข้อมูลจริงจากระบบสวัสดิการในการวางแผนและบริหารจัดการอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ เพื่อควบคุมต้นทุน และออกแบบสิทธิประโยชน์ให้สอดคล้องกับความต้องการของพนักงานแต่ละกลุ่ม”
ค่ารักษาพยาบาลพุ่ง – ภาครัฐและองค์กรเอกชนรับแรงกดดัน
ดร.รพีสุภา หวังเจริญรุ่ง รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง เปิดเวทีด้วยข้อมูลสถานการณ์ด้านสุขภาพในระดับมหภาคโดยระบุว่า “ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประเทศไทยในช่วงปีงบประมาณ 2565–2568 เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 4.53% ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อทางการแพทย์ในปี 2568 พุ่งสูงถึง 11–14% ต่อปี ซึ่งสูงกว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ โดยปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเร่งตัวของต้นทุนด้านสุขภาพ ได้แก่ โครงสร้างประชากรที่เข้าสู่สังคมสูงวัย การเพิ่มขึ้นของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางการแพทย์ ซึ่งทั้งหมดนี้กำลังกลายเป็นภาระสำคัญที่ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนจำเป็นต้องเตรียมรับมืออย่างเร่งด่วนในอนาคตอันใกล้”
วิเคราะห์ข้อมูลจริง เผยต้นทุนเฉลี่ยพุ่งกว่า 27% ใน 5 ปี
คุณวศิน ประเวศโชตินันท์ ได้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกจากฐานข้อมูลการเคลมสุขภาพขององค์กรไทย และพบประเด็นสำคัญที่ผู้บริหารทรัพยากรบุคคลควรให้ความสำคัญโดยสรุปว่า “ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยด้านสุขภาพต่อพนักงานเพิ่มขึ้นจาก 5,634 บาท ในปี 2563 เป็น 7,170 บาทในปี 2567 ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนภาระต้นทุนด้านสุขภาพของแต่ละองค์กรที่สูงขึ้นอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในกลุ่มพนักงานอายุ 60 ปีขึ้นไป ซึ่งมีความถี่ในการเคลมสูงถึง 5.22 ครั้งต่อปี สูงกว่ากลุ่มวัยทำงานทั่วไปถึง 128% อีกทั้งยังพบแนวโน้มความเสี่ยงสะสมจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งล้วนเป็นสัญญาณเตือนให้องค์กรต้องเตรียมแผนรับมือด้านสวัสดิการสุขภาพอย่างเป็นระบบ”
เสวนาพิเศษ “จากข้อมูลสู่กลยุทธ์” องค์กรผู้นำร่วมแบ่งปันประสบการณ์จริงในการตัดสินใจปรับแผนสวัสดิการด้วยข้อมูล
ในช่วงเสวนา “จากข้อมูลสู่กลยุทธ์ – ยกระดับสวัสดิการสุขภาพด้วยเทคโนโลยีและข้อมูล”ผู้บริหารจากองค์กรที่มีประสบการณ์ตรงในการปรับเปลี่ยนแนวทางการบริหารสวัสดิการสุขภาพ โดยยึดข้อมูลเป็นศูนย์กลางในการตัดสินใจ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองและแนวปฏิบัติที่เกิดขึ้นจริงในองค์กร ได้แก่
การเสวนาในครั้งนี้มุ่งสะท้อนกระบวนการคิดและปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้องค์กรต่าง ๆ เริ่มหันกลับมาทบทวนและประเมินแผนสวัสดิการสุขภาพที่ใช้อยู่เดิมอย่างจริงจัง โดยหนึ่งในแรงกระตุ้นหลักคือภาระต้นทุนด้านสุขภาพของพนักงานที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่หลายองค์กรยังขาดข้อมูลเชิงลึกสำหรับการวิเคราะห์และตัดสินใจอย่างแม่นยำ นอกจากนี้ยังมีความท้าทายในการบริหารแผนสวัสดิการที่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของพนักงานได้อย่างเพียงพอ ทำให้ต้องมีการพิจารณาความสำคัญของการใช้ข้อมูลย้อนหลัง ทั้งด้านพฤติกรรมการเคลม กลุ่มโรคที่พบบ่อย และแนวโน้มการใช้สิทธิจริง มาเป็นเครื่องมือประกอบการตัดสินใจ เพื่อออกแบบแผนสวัสดิการใหม่ที่สามารถสร้างสมดุลระหว่างประสิทธิภาพด้านต้นทุนและประสบการณ์ที่ดีของพนักงาน (Employee Experience) อย่างยั่งยืน
ผู้ร่วมเสวนาทุกท่านต่างเห็นพ้องว่าการเปลี่ยนผ่านสู่การออกแบบแผนสวัสดิการสุขภาพโดยใช้ข้อมูลเป็นฐาน (data-driven benefits design) ถือเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้องค์กรเข้าใจต้นทุนที่แท้จริงได้อย่างลึกซึ้ง และสามารถปรับแผนให้สอดคล้องกับบริบทและความต้องการเฉพาะของแต่ละองค์กรได้อย่างแท้จริง โดยกระบวนการนี้ควรเริ่มจากการวางแผนสวัสดิการภายใต้แนวคิดแบบใช้ข้อมูล (Data-Driven) การวิเคราะห์ข้อมูลเคลมย้อนหลัง เพื่อระบุพฤติกรรมการใช้สิทธิและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง การจับสัญญาณความเสี่ยงที่เกิดซ้ำหรือมีแนวโน้มจะทวีความรุนแรง และท้ายที่สุดคือการปรับแผนให้เหมาะสมกับกลุ่มพนักงานที่หลากหลาย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของสิทธิประโยชน์ พร้อมสร้างความพึงพอใจกับพนักงานองค์กร การมีพันธมิตรที่เข้าใจข้อมูลเชิงลึก เช่น ผู้ให้บริการ TPA และที่ปรึกษาทางคณิตศาสตร์ประกันภัย จึงมีบทบาทสำคัญในการเสริมศักยภาพให้องค์กรวางกลยุทธ์ที่ยั่งยืนได้ในระยะยาว
BVTPA พร้อมเป็นพาร์ทเนอร์ด้านกลยุทธ์สวัสดิการสุขภาพ
นพ.สุธร ชุตินิยมการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร BVTPA กล่าวปิดงานว่า“การเปลี่ยนผ่านอาจดูท้าทาย แต่ถ้าองค์กรมีข้อมูลที่ถูกต้อง เทคโนโลยีที่ใช้งานได้จริง และพาร์ทเนอร์ที่เข้าใจจริงก็สามารถควบคุมต้นทุนสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตของพนักงานได้อย่างแท้จริง”
BVTPA ให้บริการแพลตฟอร์มวิเคราะห์และบริหารสวัสดิการสุขภาพในรูปแบบ Self-Insured แบบครบวงจรพร้อมระบบ Claim Analytics แบบ Real-time ที่ช่วยให้องค์กร
ด้วยการผสาน ข้อมูล, เทคโนโลยี และการให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด BVTPA มุ่งมั่นสนับสนุนให้องค์กรสามารถออกแบบแผนสวัสดิการสุขภาพที่มีทั้งประสิทธิภาพและความยั่งยืน
สนใจเปลี่ยนแผนสวัสดิการสุขภาพให้ “คุ้มค่าและยั่งยืน”?
ติดต่อ BVTPA เพื่อขอคำปรึกษาเพิ่มเติมได้ที่
โทร: 02-660-1200
เว็บไซต์: www.BlueVentureTPA.com
Facebook Fanpage : https://www.facebook.com/TPACare
Line Official: @TPACare
ให้คุณมั่นใจในคุณภาพและบริการติดโซล่าเซลล์ราคาถูกจากเรา ช่วยให้คุณประหยัดค่าไฟฟ้าได้อย่างยั่งยืน
มีประสบการณ์ในธุรกิจผู้ให้บริการนำเข้าสินค้าจีนมามากกว่า 11 ปี
Bwell สร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคมายาวนานกว่า 14 ปีในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อสุขภาพ เช่น เครื่องฟอกอากาศ เครื่องลดความชื้น และเก้าอี้สุขภาพ ล่าสุด Bwell ได้ขยายตลาดไปยังกลุ่มผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับน้ำ เปิดตัว เครื่องกรองน้ำ และเครื่องทำน้ำอุ่น–น้ำร้อนคุณภาพสูง เพื่อตอบรับความต้องการของผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับคุณภาพน้ำในชีวิตประจำวันมากขึ้น
สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) หรือ ITD ขอเชิญผู้ประกอบการ และผู้สนใจใน จ.ขอนแก่น มาร่วมงาน ITD EXPERT ANYWHERE ROADSHOW "วางแผนธุรกิจให้ตรงจุด ต่อยอดให้ตรงใจลูกค้า" อยากให้ธุรกิจเติบโต ต้องเข้าใจเทรนด์ รู้จักลูกค้า และปรับตัวให้ทันโลก ภายในงานพบกับเวทีที่รวมผู้รู้จริง ทำจริง ที่จะมาแชร์ประสบการณ์ตรง ทั้งจากเจ้าของร้านดัง เจ้าของห้าง และผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมธุรกิจ
อุปกรณ์เสริมสำหรับพัดลมระบายอากาศ แบบต่อท่อฝังฝ้า หน้ากากสีใหม่ มีให้เลือกถึง 2 สี ทั้งสีน้ำตาลและสีดำ ตอบรับทุกสไตล์การตกแต่งได้อย่างลงตัว
MOS Burger พลิกเกมตลาดเบอร์เกอร์ไทยด้วยกลยุทธ์ “MOS Burger and More” ยอดขายโตต่อเนื่อง +40% พร้อมดันแผนขยายฐานลูกค้า และเพิ่มสาขามากขึ้นในประเทศไทย มอส เบอร์เกอร์ (MOS Burger) แบรนด์เบอร์เกอร์คุณภาพอันดับหนึ่งจากประเทศญี่ปุ่น ภายใต้การดำเนินงานของนายกัณพงศ์ บุญปาน กรรมการผู้จัดการ บริษัท มอส เบอร์เกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด รายงานความสำเร็จในการปรับ กลยุทธ์ทางธุรกิจช่วงครึ่งแรกของปี 2568 ด้วยผลประกอบการในเดือนมิถุนายนที่เติบโตขึ้น +3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และมียอดขายเพิ่มขึ้นถึง +40% จากโปรโมชัน “วันพุธคือวันมอส” และ “มอส 69 ทุกวัน” ซึ่งเป็นเมนูเบอร์เกอร์คุณภาพระดับพรีเมียมในราคาที่เข้าถึงได้