กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม ดึงผู้ประกอบการและนักออกแบบรุ่นใหม่ไทย เชื่อมนักออกแบบต่างชาติ ร่วมปั้น “หัตถกรรมสิ่งทอไทยสู่สากล” ใน 4 ภูมิภาค

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM) หรือ ดีพร้อม กระทรวงอุตสาหกรรม จัดกิจกรรมสัมมนา “หัตถกรรมสิ่งทอไทยสู่สากล” ใน 4 ภูมิภาค เชื่อมโยงนักออกแบบรุ่นใหม่และผู้ประกอบการ พร้อมร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับนักออกแบบจากต่างชาติ เสริมองค์ความรู้ เตรียมพัฒนาผลิตภัณฑ์ กลุ่มผู้ประกอบการเป้าหมายใน 4 ภูมิภาค ภายใต้กิจกรรมการพัฒนาหัตถกรรมสิ่งทอไทยระหว่างนักออกแบบไทยและนักออกแบบต่างประเทศ ภายใต้โครงการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้แฟชั่นและหัตถกรรมสิ่งทอระหว่างประเทศ (Reinvented Roots, Resilient Futures)  ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

ภายใต้นโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” ตามนโยบาย 4 ให้ 1 ปฏิรูป ให้ทักษะใหม่ให้เครื่องมือทันสมัย ให้โอกาสโตไกล ให้ธุรกิจไทยที่ดีคู่ชุมชน และปฏิรูปดีพร้อมสู่องค์กรที่ทันสมัย ตามกลไกด้านการสร้างซอฟต์พาวเวอร์ ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

ในกิจกรรมจัดให้มีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ร่วมให้ทักษะและองค์ความรู้ จากวัสดุในท้องถิ่น สู่การแปรรูปและคงอัตลักษณ์ พัฒนาสู่การตลาดในเวทีสากล โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ จากหน่วยงานภาครัฐ ภาคการศึกษา ภาคเอกชน และวิทยกรจากประเทศญี่ปุ่น อาทิ Dr. Tetsuya Igarashi, Director of Textile Division, Yamanashi Industrial Technology Center, Japan Mr.Eric Choong นักออกแบบแฟชั่น ศิลปะ และโอตกูตูร์ ชาวมาเลเซีย ผศ. ดร.ขจรศักต์ นาคปาน อาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร อาจารย์ภิรมย์ แก้วมณี ประธาน Disruptive Group Company อาจารย์อโณทัย สิงห์คำ หัวหน้าแลปปฏิบัติการวิเคราะห์ผ้าและสิ่งทอ ศูนย์สร้างสรรค์ผ้าและสิ่งทอ (FTCDC) อาจารย์อัฐวุฒิ อุดชาชน ผู้จัดการพัฒนาเส้นใยและปฏิบัติการวัสดุสิ่งทอ บริษัท KHALCAFT STUDIO อาจารย์กิรณา จิรเศรษฐากูล ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด

โดยจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ในหัวข้อ อาทิ Design of local textile production by information technology , Material Processing Techniques and Modern Design ภูมิปัญญาท้องถิ่นในงานหัตถกรรมสิ่งทอไทย วัสดุธรรมชาติที่ใช้ในงานหัตถกรรมสิ่งทอไทย กรณีศึกษา: การใช้รากวัฒนธรรมสู่ตลาดโลก Studio แน่นหนา showcase การระดมความคิดเพื่อหาแนวทางการใช้วัสดุท้องถิ่นในการออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอ  เทคโนโลยีการออกแบบผ้าสามมิติและการใช้เอไอในการออกแบบแฟชั่น กรณีศึกษา: การผสมผสานเทคนิคดั้งเดิมและเทคโนโลยีใหม่ในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ การทดลองและสร้างสรรค์ผลงานต้นแบบโดยใช้วัสดุท้องถิ่นและเทคนิคการแปรรูปที่ทันสมัย และนำเสนอผลงานในรูปของ mood board แนวโน้มและความต้องการของตลาดโลกสำหรับผลิตภัณฑ์หัตถกรรมสิ่งทอ กรณีศึกษา: การสร้างแบรนด์และการตลาดผลิตภัณฑ์สิ่งทอในตลาดสากล การพัฒนาแผนธุรกิจและการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์สิ่งทอ การนำเสนอแผนธุรกิจและรับฟังคำแนะนำจากวิทยากร

ทั้งนี้ เพื่อนำองค์ความรู้ต่าง ๆ ถ่ายทอดสู่การร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ ในกลุ่มผู้ประกอบการเป้าหมายใน 4 ภูมิภาค เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์ และภาพลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์หัตถกรรมสิ่งทอไทย สู่การเป็นซอฟต์พาวเวอร์ และก้าวเข้าสู่ตลาดสากลได้อย่างยั่งยืน