คณะแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติ AGILEᴰˣᴿˣ2025
แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการตรวจคัดกรองมะเร็งปอดกับผู้เชี่ยวชาญระดับโลก
คณะแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จัด “พิธีมอบเสื้อกาวน์และปฎิญาณตน” นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 5 รุ่นที่ 2 ปีการศึกษา 2568 จำนวน 31 คน โดยมีศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์รัชตะ รัชตะนาวิน รักษาการรองเลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงยุวเรศมคฐ์ สิทธิชาญบัญชา รักษาการรองเลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ธีรภัทร อึ้งตระกูล รักษาการคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์วิสุทธิ์ ล้ำเลิศธน รองคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน นายแพทย์สุรชัย โชคครรชิตไชย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนครปฐม แพทย์หญิงนวพร พูลสุวรรณ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลเพชรบูรณ์ และคณะผู้บริหารจากคณะแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ โรงพยาบาลนครปฐม และโรงพยาบาลเพชรบูรณ์ เข้าร่วมพิธีการ ณ อาคารคณะแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
กิจกรรมในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อให้นักศึกษาแพทย์ได้ตระหนักถึงความหมาย คุณค่า และความสำคัญของเสื้อกาวน์สีขาว อันเป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงาม จริยธรรม และความรับผิดชอบในวิชาชีพแพทย์ ตลอดจนการยอมรับเป็นส่วนหนึ่งของทีมรักษา รวมทั้งเป็นเครื่องเตือนใจให้นักศึกษาทุกคนมีความมุ่งมั่น ศึกษาหาความรู้ ประสบการณ์ และสำเร็จการศึกษาเติบโตเป็นแพทย์ที่ดี เปี่ยมด้วยคุณธรรม และความสามารถต่อไปในอนาคต นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 5 ที่เข้าร่วมในพิธีการฯ ได้ขับร้องเพลง “เจ้าหญิงของปวงประชา” เพื่อถวายพระเกียรติและสำนึกในพระกรุณาธิคุณ ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานและนายกสภาราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ในการก่อตั้ง “ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์” เพื่อสืบสานพระปณิธานตามรอยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ที่มีพระประสงค์ให้ชาวไทยทุกคนมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ทั้งนี้ “พิธีมอบเสื้อกาวน์และปฎิญาณตน” จัดขึ้นเพื่อนักศึกษาแพทย์ที่กำลังจะเริ่มต้นเรียนรู้ในระดับคลินิก ณ โรงพยาบาลนครปฐม โรงพยาบาลเพชรบูรณ์ และ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ได้เตรียมความพร้อมสำหรับการเรียนรู้การทำงานในสภาพแวดล้อมทางคลินิก เพื่อการเติบโตเป็นแพทย์ที่มีคุณภาพและมีจริยธรรม นักศึกษาแพทย์ทุกคนได้ผ่านการเรียนรู้ในระดับเตรียมความพร้อมของความเป็นแพทย์ ช่วง Early Years ตลอดจนการปฏิบัติงานวิจัย ณ University College London มาแล้วเป็นเวลากว่า 4 ปี จึงถือเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญในการเปลี่ยนผ่าน จากการเรียนในชั้นเรียนและห้องปฏิบัติการ สู่การเรียนรู้จากผู้ป่วยจริง ซึ่งจะกลายเป็น “อาจารย์” คนสำคัญของนักศึกษาต่อจากนี้ไป ซึ่งจะมีการเตรียมความพร้อมในการเปลี่ยนผ่านจากการเรียนในชั้น Early Years ไปสู่การเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมทางคลินิกที่มีความซับซ้อน ต้องมีการประยุกต์ใช้ความรู้ให้เข้ากับบริบททางการแพทย์ รวมถึงการใช้ทักษะการสื่อสาร ทักษะการคิดวิพากษ์ (Critical Thinking) การประเมินสถานการณ์และการตัดสินใจ การปฏิบัติต่อผู้ป่วยอย่างมีคุณภาพและมีจริยธรรม โดยการฝึกฝนทักษะพื้นฐานทางคลินิก การสังเกต การสื่อสารและการวินิจฉัย เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการดูแลผู้ป่วยอย่างเป็นองค์รวม นอกจากนี้แล้วยังช่วยให้นักศึกษาแพทย์เข้าใจวัฒนธรรมองค์กร การทำงานระหว่างเพื่อนร่วมงาน บุคลากรสหวิชาชีพ เข้าใจหลักจริยธรรมและจรรยาบรรณของแพทย์ รวมถึงทราบถึงวิธีการวัดและประเมินผลในชั้น Later Years ด้วย โดยท้ายสุดเป็นการเตรียมนักศึกษาแพทย์ ให้พร้อมเผชิญกับความท้าทายทางอารมณ์และความเครียดที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการศึกษาและการปฏิบัติงานทางคลินิก ซึ่งเน้นการพัฒนาทักษะการจัดการเวลา การตัดสินใจ การแก้ไขปัญหา การสื่อสารอย่างมีประสิทธิผลและการรับมือกับความเครียด ทั้งนี้ จะช่วยให้นักศึกษาแพทย์สามารถรักษาสมดุลทางอารมณ์และสุขภาพจิตในสภาพแวดล้อมต่างๆ พร้อมรับมือกับความเครียดและความท้าทายในวิชาชีพแพทย์ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญในการดูแลผู้ป่วยที่มีคุณภาพ
แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการตรวจคัดกรองมะเร็งปอดกับผู้เชี่ยวชาญระดับโลก
โรงพยาบาลพระรามเก้า ก้าวเข้าสู่ปีที่ 33 ในคอนเซ็ปต์ "Good Health Grows With Care สุขภาพที่ดีเริ่มต้นจากการดูแลอย่างใส่ใจ" ผ่านกิจกรรมรักษ์โลกสุดสร้างสรรค์ "เปลี่ยนกระเช้า" เป็น "ต้นไม้" เพิ่มพื้นที่สีเขียวในโรงพยาบาล ส่งต่อความสดชื่นและอากาศบริสุทธิ์ให้แก่ทุกคน
PAUL & JOE เปิดเคาน์เตอร์ใหม่ที่เซ็นทรัลชิดลม ชวนสัมผัสมนต์เสน่ห์ความงามแบบสาวปารีเซียง
ในยุคที่ผู้คนหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น การเข้าพบแพทย์เฉพาะทางกลายเป็นเรื่องปกติ โดยเฉพาะเมื่อพูดถึงโรคทาง ระบบประสาท เช่น อาการปวดศีรษะเรื้อรัง เวียนศีรษะ ลมชัก หรือแม้แต่โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) หลายคนอาจสงสัยว่า “หมอแบบไหน” ที่เราควรไปพบดี ระหว่าง นักประสาทวิทยา (Neurologist) หรือ ศัลยแพทย์ระบบประสาท (Neurosurgeon) ซึ่งในวงการแพทย์เองก็มักเรียกกันแบบเข้าใจง่ายว่า “หมอเมด” และ “หมอผ่า” แม้ทั้งสองจะดูคล้ายกัน แต่จริง ๆ แล้วมีบทบาทและแนวทางการรักษาที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน
กรมการแพทย์แผนไทยฯ เฟ้นหาสุดยอดฝีมือสร้างสรรค์อาหารไทยถิ่น ทีมเชฟ “อิสานอินเตอร์” คว้าแชมป์ปรุงเมนูสมุนไพรชูรสกลมกล่อมใส่ใจสุขภาพ
โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ ในกลุ่ม CHG (Chularat Hospital Group) จัดเวิร์กช็อป “The 3rd Masterclass in K-wire Fixation in Hand Surgery”